วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ทดสอบปลายภาค

1.                 แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา          
"แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet personal computer)" คือ "เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สามารถพกพาได้และใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก ออกแบบให้สามารถทำงานได้ด้วยตัวมัน เอง" ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากหลังจากทาง Microsoft ได้ทำการเปิดตัว Microsoft Tablet PC ในปี 2001
ในยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว นวัตกรรมใหม่อย่าง "แท็บเล็ต" (Teblet) กำลังได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายมากขึ้น  แท็บเล็ต เป็นเครื่องมือยกระดับคุณภาพและกระจายโอกาสทางการศึกษา ทำให้แท็บเล็ตได้ก้าวเข้ามาเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการศึกษาไทย
ความเหมาะสมของการแจกแท็บเล็ต 
การแจกแท็บเล็ต  ส่วนใหญ่ควรนำไปแจกเด็กที่มีวุฒิภาวะและเป็นวัยที่กระตือรือร้น  ในการฝึกทักษะเสาะแสวงหาข้อมูลต่างๆ ไม่ใช่นำแท็บเล็ตมาแจกเด็ก ป.1 ซึ่งเป็นวัยที่ยังอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้  ฉะนั้นเด็กจะไปเสาะแสวงหาข้อมูลไม่ได้  
ข้อดีของแท็บเล็ต
ข้อดีของแท็บเล็ตที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้นั้น สามารถสนองต่อความต้องการทางการเรียนรู้รายบุคคล สามารถติดตามช่วยเหลือให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ได้ เป็นสื่อที่ทำให้เกิดการสร้างปฏิสัมพันธ์อย่างมีความหมาย ซึ่งการเรียนรู้บางครั้งต้องอาศัย "การจำลองสถานการณ์" หรือ "การทดลองเสมือนจริง" ต่างๆ เพื่อการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
ข้อเสียของแท็บเล็ต
การแจกแท็บเล็ตนั้น ถือว่าไม่ได้คำนึงถึงความรอบด้านของตัวเด็กและไม่ได้คิดถึงผลกระทบที่จะตามมาในอนาคต  เมื่อเด็กอยู่กับเทคโนโลยีมากๆ สังคมรอบตัวเด็กจะอ่อนแอลง  ทั้งสังคมที่เป็นธรรมชาติ   ความสัมพันธ์ของมนุษย์จะหายไปจากตัวเด็ก แต่กลับกันสังคมจะมีเด็กที่อ่อนแอมากขึ้น และเกรงว่าเด็กจะมีพฤติกรรมที่แฝงไปด้วยความรุนแรง การแข่งขันและความเห็นแก่ตัวเพิ่มขึ้น   และเด็กจะนำแท็บเล็ตไปใช้ผิดประเภท เช่น   เล่มเกม  ดูเว็บโป๊  ขณะที่ปัจจุบันเด็กส่วนใหญ่ จะอยู่กับอินเตอร์เน็ต เฉลี่ยวันละ 5-6 ชั่วโมง ซึ่งเสี่ยงต่อการเด็กหมกมุ่นใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ไม่เหมาะสมของเด็ก 
              ผู้เขียน
รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นายภาวิช ทองโรจน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรค พท.ตัวแทนเจ้าขอนโยบาย
สิรีนาฏ ทาบึงกาฬ จากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
2.               ประเทศไทยกับสมาคมอาเซียน
  ตลอดระยะเวลา 40 กว่าปีที่ผ่านมาไทยได้ประโยชน์หลายประการจากอาเซียน ทั้งในแง่การเสริมสร้างความมั่นคงซึ่งช่วยเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยในปัจจุบันอาเซียนเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทย มีมูลค่าการค้าระหว่างกันกว่า 1.75 ล้านล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 19.2 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย ในจำนวนนี้ เป็นการส่งออกจากไทยไปอาเซียนร้อยละ 20.7 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลมาตลอด
          การรวมตัวกันอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นทางด้านเศรษฐกิจ  ประกอบกับการขยายความร่วมมือเพื่อเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน เช่น เส้นทางคมนาคม ระบบไฟฟ้า โครงข่ายอินเตอร์เน็ต ฯลฯ ยังช่วยเพิ่มโอกาสทางการค้าและการลงทุนให้กับไทย โดยขยายตลาดให้กับสินค้าไทยจากประชาชนไทย 60 ล้านคนเป็นประชาชนอาเซียนเกือบ 600 ล้านคน และเป็นแหล่งเงินทุนและเป้าหมายการลงทุนของไทย ซึ่งไทยจะได้เปรียบประเทศสมาชิกอื่นเพราะมีที่ตั้งอยู่ใจกลางอาเซียน สามารถเป็นศูนย์กลางทางการคมนาคมและขนส่งในภูมิภาค
          ในอนาคต คนไทยจะได้รับประโยชน์จากการรวมตัวเป็นประชาคมของอาเซียนมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับการเตรียมความพร้อมของเรา ดังนั้น การสร้างความตื่นตัวและให้ความรู้กับประชาชน จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้ตระหนักถึงโอกาสและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันซึ่งจะช่วยให้คนไทยได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกันก็ต้องป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบในทางลบแก่ภาคส่วนต่าง ๆ
ผลกระทบในทางบวกต่อประเทศไทย
                1. จะมีตลาดสินค้าและบริการที่ใหญ่ขึ้น นักธุรกิจไทยจะมีตลาดการค้าที่ใหญ่ขึ้น เพราะมีประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 580 ล้านคน เพราะทั้ง 10 ประเทศนี้ต่างก็มีจำนวนมหาศาลพอสมควร   นับว่าจะการเพิ่มโอกาสทางการค้าเนื่องจากมีขนาดตลาดที่ใหญ่โตขึ้น และจะเอื้อให้การผลิตในลักษณะที่ผลิตมากขึ้นต้นทุนต่ำลงย่อมมีโอกาสมากขึ้นด้วย
                2. ประเทศไทยจะได้อานิสงส์ ในการที่จะกลายมาเป็นเป้าหมายในการดึงดูดการลงทุน เงินลงทุน จากต่างประเทศได้มากขึ้นเพราะต่อไปนี้การขยายการลงทุนจากต่างประเทศมาไทยจะกระทำได้ง่ายขึ้น หากเป็นไปตามข้อตกลงที่ได้ตกลงกันไว้ และประเทศไทยได้เปรียบประเทศอื่นๆ หลายประการโดยเฉพาะทัศนคติของคนไทยที่มีต่อนักลงทุนชาวต่างชาตินั้นดีมาก
3. การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนสามารถทำให้ประเทศไทยมีอำนาจในการเจรจาต่อรองต่อเวทีโลกได้มากขึ้น เพราะต่อไปนี้จะมีฐานประชาคมอาเซียนสนับสนุนอยู่  ซึ่งสามารถทำให้ประเทศคู่ค้าต้องรับฟังมากขึ้น
                4. การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนจะทำให้นักธุรกิจไทย และผู้ที่เกี่ยวข้องด้านเศรษฐกิจและการค้ามีโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องให้ดีขึ้นจากเดิม เพื่อการรองรับการแข่งขัน และสามารถนำมาซึ่งเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่พร้อมจะออกไปเพื่อการแข่งขัน
5. จะมีผลต่อการจ้างแรงงานเพราะสามารถเข้าโรงงานอุตสาหกรรมที่ให้ค่าจ้างแรงงานที่สูงกว่าเดิม รวมทั้งการออกไปหารายได้เพิ่มขึ้นจากค่าแรงงานในกลุ่มประเทศอาเซียน 
6. เมื่อประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ก็เท่ากับว่าต่อไปนี้จะมีการปรับปรุงแรงงานฝีมือในสาขาวิชาชีพต่างๆ (7 วิชาชีพ) ให้เท่าเทียมนานาประเทศ สาขาวิชาชีพเหล่านี้ ได้แก่ วิศวกร แพทย์ พยาบาล นักบัญชี นักสำรวจ ทันตแพทย์ และผู้ประกอบวิชาชีพ สถาปนิก เพราะสาขาวิชาชีพเหล่านี้เป็นสาขาวิชาชีพหน้าด่านของไทยที่มีความพร้อมสูง
7. ประเทศไทยสามารถอาศัยความร่วมมือช่วยเหลือกันในภาคเศรษฐกิจหรือAECนี้  เข้าไปเสริมสร้างความสัมพันธ์ในด้านการเมือง การปกครองการป้องกันประเทศให้ดีขึ้น เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและลดข้อขัดแย้งต่างๆ กับประเทศเพื่อนบ้านของไทย
ผลกระทบในทางลบต่อประเทศไทย
1.                เรื่องภาษาอังกฤษจะเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก เนื่องจากจะมีคนอาเซียน เข้ามาอยู่ในไทยมากมายไปหมด และมักจะพูดภาษาไทยไม่ค่อย
2.                ด่านศุลกากรชายแดนอาจมีบทบาทน้อยลงมาก แต่จะมีปัญหาเรื่องยาเสพติด และปัญหาสังคมตามมาด้วย
3.                จะมี ชาวพม่า, ลาว, กัมพูชา เข้ามาทำงานในไทยมากขึ้น แต่คนเหล่านี้ก็จะมาแย่งงานคนไทยบางส่วนด้วยเช่นกัน  และยังมีปัญหาสังคม, อาชญากรรม จะเพิ่มขึ้นอีกด้วย อันนี้รัฐบาลควรระวัง
4.                คนไทยที่ใช้ภาษาอังกฤษได้ บางส่วนจะสมองไหลไปทำงานเมืองนอก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมซอร์ฟแวร์ เพราะชาวไทยเก่ง แต่ปัจจุบันได้ค่าแรงถูกมาก อันนี้สมองจะไหลไปสิงคโปร์เยอะมาก
5.                 สาธารณูปโภคในประเทศไทย หากเตรียมพร้อมไม่ดีอาจขาดแคลนได้เช่น ชาวพม่า มาคลอดลูกในไทย ก็ต้องใช้โรงพยาบาลในไทยเป็นต้น
6.                กรุงเทพฯ จะแออัดอย่างหนัก เนื่องจากมีตำแหน่งเป็นตรงกลางของอาเซียนและเป็นเมืองหลวงของไทย โดยเมืองหลวงอาจมีสำนักงานของต่างชาติมาตั้งมากขึ้น รถจะติดอย่างมาก สนามบินสุวรรณภูมิจะแออัดมากขึ้น
7.                 ปัญหาสังคมจะรุนแรงถ้าไม่ได้รับการวางแผนที่ดี เนื่องจาก จะมีขยะจำนวนมากมากขึ้น, ปัญหาการแบ่งชนชั้น ถ้าคนไทยทำงานกับคนต่างชาติที่ด้อยกว่า อาจมีการแบ่งชนชั้นกันได้ จะมีชุมชนสลัมเกิดขึ้น และอาจมี พม่าทาวน์, ลาวทาวน์, กัมพูชาทาวน์, ปัญหาอาจญากรรมจะรุนแรง สถิติการก่ออาชญากรรมจะเพิ่มขึ้นอย่างมากจากชนนั้นที่มีปัญหา  คนจะทำผิดกฎหมายมากขึ้นเนื่องจากไม่รู้กฎหมาย
ประเทศเพื่อนบ้านกับสมาคมอาเซียน
จุดเด่นของประเทศเพื่อนบ้าน
พม่า : สาขาเกษตรและประมง
มาเลเซีย : สาขาผลิตภัณฑ์ยาง และสาขาสิ่งทอ
อินโดนีเซีย : สาขาภาพยนต์และสาขาผลิตภัณฑ์ไม้
ฟิลิปปินส์ : สาขาอิเล็กทรอนิกส์
สิงคโปร์ : สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาสุขภาพ
ระหว่างประเทศเพื่อนบ้านกับประเทศไทยจะมีการขนส่งจากท่าเทียบเรือทางทะเลฝั่งขวาไปยังฝั่งซ้าย เวียดนาม-ไทย-พม่า มีระยะทางติดต่อกันโดยประมาณ 1,300 กม.อยู่ในเขตประเทศไทยถึง 950 กม. ลาว 250 กม. เวียนดนาม 84 กม.
มันจะมีผลที่ดีคือ การขนส่ง logistic ใน AEC จะพัฒนาอีกมาก และจากการที่ไทยอยู่ตรงกลางทำให้เราขายของได้มากขึ้นเพราะเราจะส่งของไปท่าเรือทางฝั่งซ้ายก็ได้ ทางฝั่งขวาก็ได้  ที่ดินในไทยบริเวณดังกล่าวก็น่าจะมีราคาสูงขึ้นและที่พม่ายังมี โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ หรือโครงการ ทวายที่เส้นทางสอดคล้องกับ East West Economic Corridor โดยทวายจะกลายเป็นทางออกสู่ทะเลจุดใหม่ที่สำคัญมากต่ออาเซียน เพราะในอดีตทางออกสู่มหาสมุทรอินเดียจำเป็นต้องใช้ท่าเรือของสิงคโปร์เท่านั้น ขณะเดียวกันโปรเจกต์ทวายนี้ยังเป็นต้นทางรับสินค้าจากฝั่งมหาสมุทรอินเดียหรือสินค้าที่มาจากฝั่งยุโรปและตะวันออกกลาง โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มพลังงานไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ก๊าซ ซึ่งจะถูกนำเข้าและแปรรูปในโรงงานปิโตรเคมีภายในพื้นที่โปรเจกต์ทวาย เพื่อส่งผ่านไทยเข้าไปยังประเทศกลุ่มอินโดจีนเช่น ลาว กัมพูชา และไปสิ้นสุดปลายทางยังท่าเรือดานังประเทศเวียดนาม และจะถูกส่งออกไปยังเอเชียตะวันออกอย่างญี่ปุ่นและจีน
การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียน
1.                ควรมีความสนใจและตระหนักถึงผลที่เกิดขึ้น อันเนื่องมาจากการรวมตัวของประเทศต่างๆ สู่ประชาคมอาเซียน ทั้งในด้านประโยชน์ที่ได้รับและข้อควรระวัง
2.                การเกิดขึ้นของประชาคมอาเซียน ในด้านการเรียนรู้จำเป็นต้องปรับทั้งกระบวนการเรียนรู้ ปรับทัศนคติที่จะต้องตระหนักถึงความเป็นชาติ และการดำรงอยู่ของรัฐบาลไทยเพิ่มมากขึ้น
3.                ปรับกระบวนการเรียนรู้  การเรียนรู้ยุคใหม่ควรเป็นไปอย่างมีเป้าหมาย อย่างคนที่รู้เท่าทันสถานการณ์
4.                จำเป็นต้องตระหนักถึงความเป็นชาติ
5.                พัฒนาความเป็นคนมีวินัย  มุ่งเน้นความสามารถในการดำรงชีวิตภายใต้วัฒนธรรมของสังคม
6.                สร้างความสามารถในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ควรพัฒนาตนเองให้แน่ใจว่า สามารถทำงานกับผู้คนต่างวัฒนธรรมได้
7.                เรียนรู้ประเทศเพื่อนบ้านทั้งในด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน
8.                สร้างโอกาสในการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  ต้องเพิ่มทักษะทางด้านภาษาอังกฤษให้มากขึ้นให้สามารถสื่อสารได้
                   ผู้เขียน
                                    รศ.ดร.พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.)
                                    รศ. ดร. จุฑา เทียนไทย
                                    ดร. จิรวัฒน์  วีรังกร  คณะอนุกรรมการพัฒนานิสิตนักศึกษานอกชั้นเรียน
3.               ผศ.ดร.สมาน ฟูแสง คณบดีคณะครุศาสตร์ ได้พูดถึงครูกับภาวะผู้นำทางวิชาการ
                ที่ว่า "การที่ครูมีความรู้ความสามารถและแสดงออกให้เห็นว่าเป็นผู้มีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน  เป็นที่ยอมรับของเพื่อนครู นักเรียน(นักศึกษา) และผู้ปกครอง จนทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมให้เกิดในองค์กร
                ผู้นำที่ดีจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 4 ด้านคือ
ศรัทธา
ความไว้วางใจ
สร้างแรงบันดาลใจ
ยอมรับในความเป็นปัจเจกบุคคล
และได้พูดถึง "ครูกับภาวะผู้นำทางวิชาการ" โดยหยิบยกมาจาก Diann De Pasquale ศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ได้เสนอว่า ครูที่จะเป็นผู้นำทางวิชาการ หรือผู้นำทางการเรียนการสอน  ควรมีพฤติกรรม  7 ประการ คือ
หาหนังสือที่ติดอันดับขายที่ดีที่สุดมาอ่าน
อยู่กับปัจจุบัน /ทันสมัย
หาข้อมูล มีความรู้ที่เกี่ยวกับเด็ก
ทำให้เด็กแสดงออกซึ่งการเป็นภาวะผู้นำ
กำหนดให้เด็กทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม
เชิญบุคคลภายนอกมาพูดให้เด็กฟัง
ท้าทายให้เด็กได้คิด

จากบทความของ ผศ.ดร.สมาน ฟูแสง คณบดีคณะครุศาสตร์ ได้พูดถึงครูกับภาวะผู้นำทางวิชาการ  จะเห็นได้ว่าครูที่มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนจะเป็นที่ยอมรับของบุคคลที่เกี่ยวข้องในสายงานจนก่อให้เกิดความร่วมมือ
ในการเรียนการสอน   ซึ่งดิฉันคิดว่าครูในปัจจุบันควรจะมีภาวะผู้นำในตนเองเพื่อที่จะสร้างความศรัทธา  ความไว้วางใจ 
สร้างแรงบันดาลใจ  และการยอมรับให้เกิดขึ้นกับตัวครูผู้สอน  และการที่ครูจะมีภาวะผู้นำในการเรียนการสอนได้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่มั่นแสวงหาความรู้  เป็นคนที่ทันต่อเหตุการณ์  รู้ข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก  และจัดการเรียนการสอนโดยการให้เด็กร่วมกันทำงานเป็นกลุ่มพร้อมทั้งกระตุ้นให้เด็กเกิดความคิดใหม่ๆ และกล้าที่จะเป็นผู้นำ ตามที่ ผศ.ดร.สมาน ฟูแสงได้พูดไว้ซึ่งบทความนี้เป็นบทความที่ทันสมัยที่ครูยุคใหม่ควรที่จะนำไปปฏิบัติให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม  เช่น  ในการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ครูอาจสอดแทรกเหตุการณ์ปัจจุบันที่ครูได้อ่านหรือได้ฟังมาเข้าไป  โดยการตั้งคำถามทางคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในปัจจุบันหลายๆ เหตุการณ์  แล้วให้เด็กแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ และให้ช่วยกันคิดภายในกลุ่มเมื่อได้คำตอบแล้วก็ให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มออกมาอธิบายแนวทางการคิดหาคำตอบ
การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร
                การเรียนโดยใช้บล็อกตลอดหนึ่งเทอมที่ผ่านมา   เริ่มจากที่ดิฉันได้รับความรู้ในการสร้างบล็อกจากอาจารย์และได้ไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ตพร้อมทั้งได้แลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนๆ  เมื่อได้รับมอบหมายงานจากอาจารย์ผ่านทางบล็อกก็ได้ศึกษาจากเอกสารที่อาจารย์แนบมาให้และศึกษาเพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ตแล้วสรุปเป็นความคิดเห็นของตนเองที่บวกกับพื้นฐานความรู้เดิมที่มีอยู่  ซึ่งต่อไปข้างหน้าดิฉันคิดว่าโอกาสในการเรียนรู้โดยใช้บล็อกจะมีมากขึ้นเพราะทุกวันนี้เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของคนเราเป็นอย่างมากและการศึกษาไทยก็ได้นำเทคโนโลยีเข้าไปใช้ในการเรียนการสอนและการใช้บล็อกก็เป็นสื่อในการเรียนการสอนเพิ่มขึ้นอีกทางและด้วยสายงานที่จะทำในอนาคตดิฉันคิดว่าการเรียนรู้โดยใช้บล็อกยิ่งมีโอกาสมากขึ้น
4.               ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร
                ควรจะได้เกรด A ในการเรียนวิชานี้เพราะดิฉันมีความตั้งใจเป็นอย่างมากเนื่องจากในการเรียนในแต่ละเรื่องจำเป็นต้องอ่านทำความเข้าใจในเนื้อหาสาระเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริงแล้วสรุปเป็นความคิดรวบยอดของตนเอง  ดิฉันเข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาด  และทำงานส่งตามกำหนดเกือบทุกครั้ง  และในการทำบล็อกแต่ละครั้งดิฉันได้ทำด้วยตนเองแต่เนื่องจากเนื้อหาสาระที่สรุปออกมาอาจจะคล้ายๆ กันเป็นเพราะตัวเนื้อหาที่เหมือนกันทำให้สาระสำคัญของเรื่องอาจคล้ายคลึงกัน   ที่ดิฉันได้ตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น